คณะรัฐมนตรี(ครม.) เห็นชอบมาตรการเยียวยาแรงงานและผู้ประกอบการ ที่ได้รับผลกระทบจากข้อกำหนดฉบับที่ 25 ครอบคลุม 4 ประเภทกิจการได้แก่
1.กิจการก่อสร้าง
2.กิจการที่พักแรม บริการด้านอาหาร
3.กิจการด้านศิลปะความบันเทิงนันทนาการ
4.กิจการอื่นๆ โดยกิจการเหล่านี้ต้องอยู่ในพื้นที่ 6 จังหวัดควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร นครปฐม สมุทรสาคร ปทุมธานี นนทบุรี และ สมุทรปราการ
โดยมีรายละเอียดดังนี้
กิจการก่อสร้าง
ได้แบ่งประเภท กิจการตามมาตรฐานอุตสาหกรรมไทย ยกตัวอย่าง กิจการก่อสร้างที่จะได้รับการเยียวยา เช่น การก่อสร้างฐานรากการตอกเสาเข็มการติดตั้งชิ้นส่วนเหล็ก การก่ออิฐ การทำงานบนที่สูงช่างอิฐช่างปูนช่างไม้ การเช่าปั้นจั่นพร้อมคนขับ รวมถึงรถเครน เช่น บริษัทกรับเหมาก่อสร้างตึก ว่าจ้างรถเครนบริษัท มาทำงานลูกจ้างของ บริษัทก็มีสิทธิได้รับการเยียวยาตามมาตรการนี้ด้วย
กิจการพักแรม
ยกตัวอย่างคือ โรงแรมรีสอร์ตห้องชุด เกสเฮาส์ที่พักสัมผัสวัฒนธรรม กิจกรรมที่พักแรมระยะสั้น
กิจการด้านอาหาร
ตัวอย่างเช่น ภัตตาคาร ร้านอาหาร แผงลอย ในตลาดร้านอาหารเคลื่อนที่ บริการอาหารจัดเลี้ยง บริการอาหาร
สำหรับกิจการขนส่งการดำเนินงานของโรงอาหาร รวมถึง ผับบาร์ ร้านขายเครื่องดื่ม นมน้ำผลไม้
จึงขอเชิญชวนผู้ประกอบการที่มีลูกจ้าง แต่ยังไม่ขึ้นทะเบียนประกันสังคม ขอให้มาขึ้นทะเบียนเข้าระบบเพื่อเป็นสวัสดิการแก่ลูกจ้างได้รับสิทธิประโยชน์ใน 7 กรณีได้แก่เจ็บป่วยว่างงาน คลอดบุตรสงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพชราภาพและเสียชีวิต อีกทั้งยังได้รับเงินเยียวยาเพิ่มเติม จากรัฐบาลกรณีได้รับผลกระทบจากคำสั่งของรัฐ
การลงทะเบียนรับเงินเยียวยาดังกล่าวผู้ประกอบการ ที่มีลูกจ้างในระบบประกันสังคมมาตรา 33 ผู้ประกอบการมีหน้าที่ลงทะเบียนรับสิทธิให้ลูกจ้าง โดยลงทะเบียนผ่านออนไลน์ในระบบ e-service บนเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคมลูกจ้าง ซึ่งเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 จะได้รับเงินทดแทนจากการขาดรายได้ร้อยละ 50 ของค่าจ้างที่นำส่งประกันสังคมแต่ไม่เกิน 7,500บาท ต่อเดือน
นอกจากนี้กระทรวงการคลังจะจ่ายเงินชดเชยให้กับลูกจ้างสัญชาติไทย เพิ่มอีกรายละ 2,000 บาทส่วนผู้ประกอบการรับเงินเยียวยาจำนวน 3,000 บาท ต่อลูกจ้างหนึ่งคนสูงสุดไม่เกิน 200 คนต่อแห่ง ในส่วนผู้ประกอบการที่มีลูกจ้างแต่ยังไม่ขึ้นทะเบียนประกันสังคม ขอให้มาขึ้นทะเบียนประกันสังคม ในระหว่างวันที่ 29 มิ.ย.- 30 ก.ค.64
โดยสามารถขึ้นทะเบียนผ่านเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th ซึ่งทั้งนายจ้างและลูกจ้าง จะได้รับเงินเยียวยา โดยลูกจ้างสัญชาติไทยรับเงินรายละ 2,000 บาทนายจ้างรับ 3,000 บาท ลูกจ้างหนึ่งคนสูงสุดไม่เกิน 200 คนต่อแห่งโดยกระทรวงการคลังจะโอนผ่านบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับบัตรประชาชน ทั้งนี้หากมีข้อสงสัยติดต่อสายด่วนประกันสังคม1506 กด 1 ตลอด 24 ชั่วโมง
ข้อมูลอ้างอิง
tnnthailand