Tag Archives: automation machine

กลไก Positioning Mechanism

Positioning Mechanism

กลไก Positioning Mechanism:  ถูกออกออกแบบเพื่อใช้ในการจัดตำแหน่งของชิ้นงานบนสายพานลำเลียง ซึ่งในการใช้งานสายพานลำเลียงนั้นชิ้นส่วนจะเคลื่อนที่ไปมาเพราะการสั่นของสายพานและ friction ทำให้ชิ้นงานอาจขยับตำแหน่งได้ หากเรานำไปใช้ในเครื่องจักรหรือหุ่นยนต์ที่ต้องใช้ตำแหน่งที่แน่นอนในการทำงาน กลไกลนี้จะมาช่วยได้มากค่ะ      ในการออกแบบนั้นเราจะใช้ Air Cylinder เป็นแหล่งต้นกำลังดันให้ Pinion หมุน เมื่อ Pinion หมุนจะวิ่งไปบน Rack Gear ทำให้แผ่นสำหรับจัดตำแหน่งวิ่งเข้าหากัน เพื่อจัดตำแหน่งชิ้นงาน การต่อยอดใช้งาน: กลไก Positioning Mechanism สามารถนำไปติดตั้งเข้ากับเครื่องจักรสำหรับจัดตำแหน่งชิ้นงาน นอกจากนั้นยังสามารถนำไปทำเป็น Final Project  ของนิสิต นักศึกษาได้ เพราะอุปกรณ์ใช้ไม่มาก แต่นำไปต่อยอดใช้งานได้จริง  หากน้องๆเห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ พี่ฝากกด Like กดติดตามเพจ Easy Design และ ช่อง Youtube: สอนออกแบบเครื่องจักร  เพื่อเป็นกำลังใจให้พี่ได้ทำบทความดีๆแบบนี้ต่อไปนะคะ ขอบคุณค่ะ Tags: กลไก จัดตำแหน่งชิ้นงาน ,Positioning Mechanism , Machine Design, Solidwork, Automation Machine , Mechanism , การออกแบบเครื่องจักรกล, โปรเจคนักศึกษา,เครื่องจักรอัตโนมัติ,โปรเจคจบ

ออกแบบเครื่องจักร : กลไก pick and place with rotation

pick and place with rotation

  สอนออกแบบเครื่องจักร: กลไก pick and place with rotation  กลไก pick and place with rotation   ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในหยิบและหมุนชิ้นงาน โดยการหยิบนั้นจะใช้ Air Gripper ในการหนีบชิ้นงาน ส่วนกลไกในการหมุนนั้นจะใช้ต้นกำลังเป็น motor  เนื่องจากเราทำการ offset ตำแหน่งในการหยิบ ดังนั้นเราจะใช้ Timing Pulley  + Timing Belt ในการส่งถ่ายแรงไปยัง Gripper ซึ่งจะทำให้ Gripper หมุนได้  การต่อยอดใช้งาน: กลไก pick and place with rotation  สามารถนำไปติดตั้งเข้ากับเครื่องจักรสำหรับป้อนชิ้นงาน หรือใช้สำหรับกลไกในการลำเลียงได้ นอกจากนั้นยังสามารถนำไปทำเป็น Final Project  ของนิสิต นักศึกษาได้ เพราะอุปกรณ์ใช้ไม่มาก แต่นำไปต่อยอดใช้งานได้จริง  หากน้องๆเห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ พี่ฝากกด Like…

ออกแบบเครื่องจักร : กลไก Vertical Feed Mechanism

vertical feed mechanism

สอนออกแบบเครื่องจักร: กลไก Vertical Feed Mechanism  กลไก ป้อนงานในแนวดิ่ง (Vertical Feed Mechanism)  ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการป้อนชิ้นงานในแนวดิ่ง โดย Actuator ที่เราใช้นั้นเป็น Step Motor+ Linear Gear เป็นแหล่งต้นกำลังในการดันชิ้นงานให้ยกตัวขึ้นตามระยะที่เราต้องการ ซึ่งจะมี guide ประคองเป็น Shaft slide + Linear bushing ส่วนการตรวจสอบและ confirm ระยะนั้น เราจะใช้ photo sensor ในการ detect  การต่อยอดใช้งาน: กลไก ป้อนงานในแนวดิ่ง (Vertical Feed Mechanism) สามารถนำไปติดตั้งเข้ากับเครื่องจักรสำหรับป้อนชิ้นงาน หรือใช้สำหรับกลไกในการลำเลียงในแนวดิ่ง นอกจากนั้นยังสามารถนำไปทำเป็น Final Project  ของนิสิต นักศึกษาได้ เพราะอุปกรณ์ใช้ไม่มาก แต่นำไปต่อยอดใช้งานได้จริง  หากน้องๆเห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ พี่ฝากกด Like กดติดตามเพจ Easy Design และ…

ออกแบบเครื่องจักร: กลไก เครื่องยกแผ่นเหล็ก (suction cap lifter)

Lifter plate

    เครื่องยกแผ่นเหล็ก (suction cap lifter)  ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการยกแผ่นเหล็ก แผ่น AL เข้าเครื่อง Machine ในโรงงานนิยมใช้งานกันอย่างมาก หรือเราจะนำมาติดที่ปลายหุ่นยนต์ก็ได้  idea ในการออกแบบนั้น เราจะใช้ระบบ vacuum ในการดูด ซึ่งระบบ vacuum ก็จะมี Pump ที่ใช้สร้างสุญญากาศ มีท่อ และหัว suction cap สำหรับดูดชิ้นงาน  ในการออกแบบสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ แรงที่ต้องใช้ในการดูดเพื่อให้งานไม่ขยับ และลักษณะการวาง suction cap ควรวางให้กระจายตัว เวลาเราดูดแผ่นจะได้ไม่โค้งงอมาก อาจจะวางลักษณะตามภาพ concept design drawing ก็ได้นะคะ และอีกเทคนิคนึงกรณีชิ้นงานเรามีการโก่งเล็กน้อย เราต้องประมาณจุดที่โก่งมากที่สุด และเลือก suction cap แบบที่ยุบตัวได้ เพราะถ้าเราใช้แบบ fix หรือยุบตัวได้น้อยเกินไปจะทำให้เกิดการค้ำก่อนที่หัวทุกหัวจะดูดได้อย่างแน่นหนาค่ะ  การต่อยอดใช้งาน: เครื่องยกแผ่นเหล็ก (suction cap lifter)  เหมาะที่จะนำมาทำเป็นโปรเจคจบของน้องๆ…

ออกแบบเครื่องจักร : กลไก Rotating Fixture Mechanism

rotation system

  Rotating Fixture Mechanism  ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการหมุนชิ้นงาน หรือ อาจจะเป็น jig fixture ก็ได้ โดยหลักการออกแบบนั้นโครงสร้างหลักเราใช้เป็น AL Profile ส่วนระบบการหมุนนั้นส่วนที่รับแรงเราจะใช้เป็น Bearing และส่วนที่ใช้ในการ Lock ตำแหน่งจะใช้เป็น Gear + Plugger โดยเราจะทิ่ม  Plunger เข้าไปยังร่องฟันเพื่อ  Lock position ไม่ให้ขยับ การต่อยอดใช้งาน: Rotating Fixture Mechanism  เหมาะที่จะนำมาทำเป็นโปรเจคจบของน้องๆ นักเรียน นักศึกษา เพราะไม่ซับซ้อน และค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก รวมทั้งยังสามารถนำมาใช้ใน Line การประกอบชิ้นส่วนเพื่อช่วยในการทำงานของพนักงานให้ง่ายขึ้น  หากน้องๆเห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ พี่ฝากกด Like กดติดตามเพจ Easy Design และ ช่อง Youtube: สอนออกแบบเครื่องจักร  เพื่อเป็นกำลังใจให้พี่ได้ทำบทความดีๆแบบนี้ต่อไปนะคะ ขอบคุณค่ะ Tags: Rotating Fixture Mechanism , Machine Design, Solidwork, Automation…

เริ่มต้นสู่การเป็นนักออกแบบมืออาชีพ (Machine Design)

computer aide design

Machine Design Engineering  เป็นอาชีพที่ต้องใช้ทักษะความรู้และความอดทนเป็นอย่างมากเพราะ วิศวกรออกแบบนั้นถือได้ว่าเป็นผู้สร้างที่สามารถนำเหล็กหรือนำวัสดุต่างๆมาประกอบกันให้เกิดการเคลื่อนที่ เคลื่อนไหวตามวัตถุประสงค์ที่ผู้ออกแบบได้กำหนดไว้ ซึ่งคุณลักษณะพื้นฐานของนักออกแบบที่ดีนัั้น จะต้องเป็นผู้ที่ความรู้ในเรื่องดังต่อนี้เป็นอย่างดี      1.Process การผลิตชิ้นส่วน (ข้อนี้สำคัญมาก ควรรู้ทั้งทฤษฏีและปฎิบัติ)     โดยนักออกแบบที่ดีจะต้องมีความรู้พื้นฐานในเรื่องของกระบวนการผลิตไม่ว่าจะเป็น กลึง ไส ปาด เจาะ งานเชื่อม Wire Cut  EDM  งานหล่อขึ้นรูป งานพับ  ความยากง่ายในการผลิต ซึ่งจากการทำงานในสายอาชีพนี้มากว่า 10 ปีนั้น พบว่า นักออกแบบมือใหม่นั้นส่วนใหญ่จะละเลยในส่วนนี้ไป เวลาให้ออกแบบจะเขียน 3D Model ใน Computer โดยการเขียนไม่คำนึงถึง Process ในการผลิตว่าสามารถสร้างได้ในโลกของความเป็นจริงหรือไม่ ซึ่งในการเขียน Model ที่ดีมีเทคนิคง่ายๆคือ เขียนตาม Process การผลิต เสมือนเรานำก้อนเหล็กที่อยู่ใน Computer มาทำการ กลึง ปาด กัด เจาะ เพื่อให้ได้ชิ้นงานตามที่เราต้องการ…

ออกแบบเครื่องจักร : กลไก Semi-automatic Grinding Machine

semi auto griding m/c

Grinding Machine ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการขัดผิวชิ้นงาน โดยกลไกนี้เป็นแบบ semi auto หรือกึ่งอัตโนมัติ โดยมี idea ในการออกแบบคือ ทำการจับยึด tool grinding ไว้บน Linear Actuator โดยมี LM Guide ประคองทั้ง 2 ข้าง ( knowhow เลยนะคะ ถ้ายึด LM guide แล้วมีตัว Linear Actuator ด้านใต้แบบนี้ อย่าพยายามไปจับ Fix เข้ากับ Linear Actuator นะคะ เพราะเดียวมันจะขัดตัวและ setting ยากสุดๆ Assembly ด่าตายแน่เลยค่ะ เราต้องออกแบบให้ Linear actuator ทำหน้าที่เป็นแค่ตัวพาส่วนแรงกระทำให้ลง LM Guide ให้หมด) ซึ่งในการทำงานเราจะจับยึดชิ้นงานและใช้มือในการขยับแกน Y เพื่อเจียร์ผิวชิ้นงานค่ะ เป็นกลไกที่ดิบและง่ายมากค่ะ เหมาะกับการทำเพื่อการเรียนรู้…

ออกแบบเครื่องจักร : กลไก Vertical Transfer of Workpiece

transfer

    Vertical Transfer ถูกออกแบบมา เพื่อใช้ในการป้อนชิ้นงานในแนวดิ่ง กลไกแบบนี้ พี่นิยมใช้งานเป็นอย่างมากสำหรับเครื่องประกอบชิ้นส่วน โดยพี่จะใส่ชิ้นงานลงใน Magazine แล้วใช้ linear actuator ตามตัวอย่างภาพด้านบนทำหน้าที่ในการยกงานขึ้นตามระยะที่เราได้ตั้งค่าเอาไว้ หลังจากนั้นพี่ก็จะใช้ Air Cylinder วิ่งลงมาหยิบเอาไปประกอบกับชิ้นส่วน      Idea ในการออกแบบ Vertical Transfer ตามภาพ concept design drawing กลไกนี้ตัว jig support งานจะวางอยู่บน LM guide ซึ่งตัวของแผ่น Jig จะเจาะรูด้านใต้เอาไว้เพื่อให้ Linear actuator ด้านล่าง (สีชมพู) ทำการด้านขึ้นมา โดยมี Guide ที่เป็นแท่ง Shaft สีเขียวๆ คอยประคอง เมื่อชิ้นงานถูกใช้จนหมด Linear Actuator ที่วางด้านบนจะเคลื่อนที่พา Jig ไปยังตำแหน่ง Load…

ออกแบบเครื่องจักร : กลไก Automatic Tension Mechanism

automatic tension mechanism

    Automatics Tension Mechanism ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการปรับความตึงของโซ่แบบอัตโนมัติ เป็นเรื่องปรกตินะคะที่เวลาเราใช้งานโซ่ไปเรื่อยๆ โซ่ของเราก็มักจะหย่อนยานทำให้ตำแหน่งและการส่งถ่ายแรงไม่ดี ประสิทธิภาพลดลง ซึ่งวิธีแก้ไขนั้นทางวิศวกรผู้ออกแบบจะทำการออกแบบกลไกสำหรับตั้งค่าความตึงของโซ่เอาไว้ ที่นิยมใช้กันคือ การใช้ screw ขันยัน แต่มีบางกรณีที่การเข้าไปปรับตั้งทำได้ยาก ต้องมุด ต้องฝ่าดงชิ้นส่วนเครื่องจักรเข้าไปกว่าจะไปถึงตำแหน่งที่จะปรับตั้งแบบแทบตาย ถ้าแบบนั้นก็ลองมาใช้ระบบ Automatics Tension Mechanism ดูนะคะ ชีวิตจะง่ายขึ้นเยอะเลยค่ะ การทำงานของระบบก็จะใช้ Air cylinder ทำหน้าที่ในการดึง sprocket ให้โซ่ตึงตลอดเวลา ในการออกแบบเราต้องคำนวนแรงต้านของโซ่ด้วยว่าเท่าไหร่ ถ้าเราไม่ได้คำนวน Air Cylinder จะดึงลงสู้แรงไม่ไหว ก็ใช้งานไม่ได้ค่ะ การต่อยอดใช้งาน:กลไกนี้สามารถนำไปใช้ติดตั้งร่วมกับระบบ Conveyor ได้เป็นอย่างดี  หากน้องๆเห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ พี่ฝากกด Like กดติดตามเพจ Easy Design และ ช่อง Youtube: สอนออกแบบเครื่องจักร  เพื่อเป็นกำลังใจให้พี่ได้ทำบทความดีๆแบบนี้ต่อไปนะคะ ขอบคุณค่ะ Tags: Automatics Tension Mechanism, Machine Design, Solidwork, Automation Machine…

ออกแบบเครื่องจักร : กลไก Simplified Fine Adjustment Table

adjust table

Adjust table ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการ setting ระนาบ และตำแหน่งของแผ่น Support ชิ้นงาน Adjust table ในตัวอย่างนี้จะใช้ Spring และ Plugger ในการปรับ setting ข้อดึของการทำแบบนี้คือ เราจะประหยัดค่า machining ไปได้มาก เพราะเราไม่ต้อง control ค่าที่ละเอียดมากๆ เพราะสุดท้ายเราต้องมาปรับหน้างานอยู่ดี หลังจากปรับได้แล้วก็ทำการ lock ตำแหน่งก็ถือเป็นอันเสร็จสำหรับกลไกแบบ Adjust table การต่อยอดใช้งาน:กลไกนี้สามารถนำไปใช้ติดตั้งร่วมกันกับเครื่องจักรได้เป็นอย่างดี  หากน้องๆเห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ พี่ฝากกด Like กดติดตามเพจ Easy Design และ ช่อง Youtube: สอนออกแบบเครื่องจักร  เพื่อเป็นกำลังใจให้พี่ได้ทำบทความดีๆแบบนี้ต่อไปนะคะ ขอบคุณค่ะ Tags: Adjust Table, Machine Design, Solidwork, Automation Machine , Mechanism , การออกแบบเครื่องจักรกล, โปรเจคนักศึกษา